วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

10 คำในความทรงจำของผมถึง Beat Generation : สุภาพ พิมพ์ชน



(บทความนี้เป็นข้อเขียนของ สุภาพ พิมพ์ชน ที่ตีพิมพ์ในแผ่นพับที่ชื่อว่า link และเจ้าของบล็อกเอามาเผยแพร่โดยไม่ได้ขออนุญาต)


    1. On The Road แจ็ก เคอรัวแอ็ก เป็นนักเขียนคนหนึ่งที่รู้สึกแปลกแยกกับรูปแบบการใช้ชีวิตในสังคมทุนนิยม เขาออกจากบ้าน ร่อนเร่พเนจรไปตามท้องถนนแบบพวกโบฮีเมียนเพื่อแสวงหาความหมายของชีวิต ในปี 1952 เขาใช้เวลาราว 3 สัปดาห์ บันทึกประสบการณ์ของตัวเองเป็นนวนิยายเรื่อง On The Road ลงบนม้วนกระดาษโทรพิมพ์ที่ยาวต่อเนื่องกัน 120 ฟุต ต่อมาหนังสือเล่มนี้กลายเป็นเสมือนคัมภีร์ของคนหนุ่มสาวในยุค 60 และเป็นต้นแบบของนักฝันข้างถนนทั่วโลก 

    2. Drug ยาเสพติดหรือของมึนเมาทุกชนิดเป็นส่วนหนึ่งในวิถีของหนุ่มสาวที่ทวนกระแสสังคม นักเขียนในกลุ่มบีต เช่น แจ็ก เคอรัวแอ็ก, วิลเลียม เบอร์โรวห์ , นีล แคสซาดี ทำงานโดยใช้ยาเสพติดเป็นแรงบันดาลใจ บางคนเสียชีวิตก่อนถึงวัยอันควร

    3. Jazz อิทธิพลของเพลงแจ๊สมีผลต่อสไตล์การเขียนของนักเขียนในกลุ่มบีต ในแง่ของการอิมโพรไวส์ หรือการทำงานโดยไม่มีการตระเตรียมมาก่อน ขณะเดียวกันนักดนตรีแจ๊สอย่าง ชาลี ปาร์กเกอร์ ก็ได้มีอิทธิพลทางความคิดจากพวกบีต โดยเฉพาะรูปแบบการใช้ชีวิต และการใช้ยาเสพติดเป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน

    4. Bisexual เข่นเดียวกับนักเขียนกลุ่มนักปรัชญาในยุคกรีก หรือรักเขียนกลุ่ม Bloomsbury ของอังกฤษ ความสัมพันธ์อันลึกซึ้งของนักเขียนในกลุ่มบีต โดยเฉพาะ อัลเลน กินสเบิร์ก กับ แคสซาดี และแจ็ก เคอรัวแอ็ก ทำให้พวกเขามีความสัมพันธ์กันในลักษณะรักร่วมเพศด้วย

    5. Hippie เมื่อ แจ็ก เคอรัวแอ็ก และนักเขียนในกลุ่มบีต ได้รับการยกย่องให้เป็นศาสดาของคนหนุ่มสาวในยุค 60 สมญาที่มีคนวิจารณ์พวกเขาว่า Hipster บ้าง Hippie homer บ้าง ก็ได้กลายมาเป็นคำว่า Hippie เพื่อใช้เรียกหนุ่มสาวเหล่านี้ 

    6. San Francisco ในยุคซานฟรานเป็นศูนย์กลางของพวกบีต ร้านขายหนังสือ City Lights ของ ลอเรนซ์ เฟอร์ลิงเกตติ นักเขียนหนึ่งในกลุ่มนี้กลายเป็นแหล่งชุมนุมของพวกก้าวหน้าในยlาวพากันเดินทางหลั่งไหลมาที่ซานฟรานซิสโกไม่ขาดสายโดยมีวิถีชีวิตของพวกบีตเป็นต้นแบบ ปี 1965 คนหนุ่มสาวที่รวมตัวกันอยู่ในไฮท์เอชเบอรี่ เริ่มเรียกตัวเองว่า ฮิปปี้ หรือบุปผาชน ในฤดูร้อนของปี 1967 สื่อมวลชนต่างพากันกล่าวถึงวัฒนธรรมใหม่ของคนหนุ่มสาวแห่งซานฟรานซิสโกกันอย่างครึกโครม 

    7. Howl พวกฮิปปี้เริ่มรวมตัวกันอย่างจริงจัง โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือร่วมคัดค้านสงครามเวียดนาม บทกวี Howl ของ อัลเลน กินสเบิร์ก กลายเป็นเสียงแห่งการต่อต้านสถาบันและอำนาจรัฐที่ทรงพลังที่สุด

    8. Beatles เพื่อนนักเรียนของ จอห์น เลนนอน เป็นผู้ตั้งชื่อวงดนตรีให้เขาว่า The Beatles โดยได้ไอเดียการใข้ชื่อแมลงมาจากวงดนตรีคณะ The Crickets ภายหลังจอห์นเปลี่ยนตัวอักษรจาก The Beetles เป็น Beatles เพื่อให้สอดคล้องกับดนตรีประเภท Beat ที่กำลังเป็นที่นิยมในประเทศอังกฤษขณะนั้น ต่อมาเมื่อซานฟรานซิสโกกลายเป็นศูนย์กลางของคนหนุ่มสาว พวกเดอะบีทเทิลส์ก็ได้ย้ายจากลิเวอร์พูลมาอยู่ที่ซานฟรานซิสโก เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกระแสวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของโลกในขณะนั้นด้วย โดยที่จอห์นพยายามอธิบายว่าชื่อ Beatles นั้นมีความหมายในเชิงคารวะต่อพวกบีตด้วย 

    9. Buddhism นีกเขียนในกลุ่มบีตส่วนหนึ่งกันมานับถือศาสนาพุทธ โดยเริ่มสนใจจากงานเขียนของชาวตะวันตก เช่น สิทธารถะ ของ เฮอร์มาน เฮสเส จากนั้นก็เป็นนิกายเซน พุทธศาสนานิกายมหายาน สายทิเบต พุทธศาสนานิกายเถรวาท

    10. อังคาร กัลยาณพงศ์ อัลเลน กินสเบิร์ก เคยมาเมืองไทย และเป็นเพื่อนกับ ส.ศิวลักษณ์ เขาชอบบทกวีของอังคาร กัลยาณพงศ์ และเคยแปลบทกวีของอังคารเป็นภาษาอังกฤษ










 





วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ก่อนฮิปปี้ ก่อนยับปี้...นี่คือ เดอะ บีต เจเนอเรชั่น : จิตติ พัวสุทธิ

 


(ก่อนฮิปปี้ ก่อนยัปปี้...นี่คือ เดอะ บีต เจเนอเรชั่น โดย จิตติ พัวสุทธิ ตีพิมพ์ในแผ่นพับ link ภาพประกอบบทความจาก https://scalar.usc.edu/works/counterculture-in-the-1960s/media/beat-generation-picture

ส่วนเนื้อหาในบทความผู้เขียนอ้างอิงจาก www.rooknet.com, www. litkicks.com 
และเจ้าของบล็อกเอามาเผยแพร่โดยไม่ได้ขออนุญาต)

สิ้นเสียงการอ่านบทกวีคำสุดท้าย ซิกส์ แกลเลอรี (Six Gallery) ซานฟรานซิสโก (San Francisco) กลุ่มบีตได้เปิดตำนานบทหนึ่งของวงการวรรณกรรมสู่สายตาของชาวโลก
    นับตั้งแต่งานเขียนและการเคลื่อนไหวของ แจ็ก เคอรัวแอ็ก และผองเพื่อน จะไม่ได้เป็นแค่ความพลุ่งพล่านของคนหนุ่ม หากยังสั่นสะเทือน ความฝันแบบอเมริกัน (American Dream) ของผู้คนทั่วไป
    คำว่า บีต เจเนอเรชั่น ปรากฏครั้งแรกในบทความ This is The Beat Generation ในปี 1948 จากการพูดคุยของแจ็ก เคอรัวแอ็ก กับ จอห์น เชลลอน โฮล์มส (John Clellon Holms) คอลัมนัสต์หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) ผู้เดินทางมาหาข้อมูลเกี่ยวกับคนหนุ่มสาวอเมริกันยุคนั้น เพียงแต่ความหมายดั้งเดิมของคำว่า บีต ไม่ได้เป็นอะไรมากกว่า เลวร้าย, หายนะ, อ่อนเปลี้ย หากแจ็กให้คำจำกัดความเป็นตัวของเขาและเพื่อนๆ หมายถึงคนหนุ่มอเมริกันผู้เริงร่าระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ไม่อาจฝากตัวในเครื่องแบบรัดกุมของทหารหาญหรือสูทสะอาดหมดจดอย่างนักธุรกิจ พวกเขาเป็นบีต เพราะไม่เชื่อในงานที่ตรงไปตรงมา กลับเลือกจะตะเกียกตะกายมีชีวิตรอดโดยการอาศัยอพาร์ตเมนต์โสโครกแทน ในบางจังหวะของชะตากรรมต้องประกอบอาชญากรรมเพียงเพื่อเงินเล็กน้อยหรืออาหารประทังความหิว บ้างก็เตร็ดเตร่พเนจรไปกับการโบกรถโดยไม่อาจฝังกาย ณ แห่งหนใดโดยปราศจากความเบื่อหน่าย วลีคำว่า บีต เจเนอเรชัน คือเงาสะท้อนจอบ เออร์เนสต์ เฮมมิงเวย์ (Ernest Hemingway) ที่เคยเรียกคนยุคเขา (คนหนุ่มยุคสงครามโลกครั้งที่ 1) ว่าเป็น ผู้คนที่สาบสูญ (Lost Generation) โดยหยิบยืมจากปากของ เกอร์ทรูด สไตน์ (Gertrude Stein)
    แกนหลักของกลุ่มบีต ประกอบด้วย แจ็ก เคอรัวแอ็ก (Jack Kerouac) , นีล แคสซาดี (Neal Cassady), วิลเลียม เอส. เบอร์โรวห์ส (William S. Burroughs) ที่คบหากันอยู่ ในละแวกมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) และย่านอัพทาวน์ (Uptown) แมนฮัตตัน (Manhattan) ในกลางทศวรรษที่ 40 นอกจากนั้นยังรวมถึง เกรเกอรี คอร์โซ (Gregory Corso) จากกรีนวิช วิลเลจ (Greenwich Village) และ เฮอร์เบิร์ต ฮักเค (Herbert Hunckel) จากย่านไทมส์สแควร์ (Times Square) เมื่อพวกเขาโยกย้ายไปซานฟรานซิสโก กลุ่มได้ขยายตัวออกไปโดยมีสมาชิกเข้ามาเพิ่มเติมอย่าง แกรี สไนเดอร์ (Gary Snyder), ลอว์เรนซ์ เฟอร์ลิงเกตตี (Lawrence Ferlinghetti) , ไมเคิล แมกคลูร์ (Michael McClure), ฟิลิป วอเลน (Philip Whalen) และ ลิว เวลช์ (Lew Weich)
    หลังจากคลื่นลูกแรกมาถึงฝั่ง คลื่นลูกที่สองได้สาดซีดอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง สมาชิกรุ่นต่อมาของกลุ่มบีตได้ขยายตัวเพิ่มเติมต่อไปอีก อาทิ บ๊อบ คูฟแมน (Bob Kaufman), ไดแอน ดีพรีมา (Diane DiPrima) , เอ็ด แซนเดอร์ส (Ed Sanders) เป็นต้น จวบจนทุกวันนี้กลุ่มบีตยังคงสืบสานตำนานการต่อต้านความฝันแบบอเมริกันอยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย